• 2016

    • ย่านทองหล่อ-เอกมัย ร่วมกันให้ความเห็น “แบบร่าง” ปรับปรุงย่านทองหล่อ-เอกมัยภายใต้วิสัยทัศน์ “แหล่งงานนานาชาติ บาทวิถีเชื่อมผสาน ย่านพักอาศัยชั้นดี วิถีเศรษฐกิจนำเทรนด์” โดยมีพื้นที่นำร่อง 4 จุดหลัก

      วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา ชาวย่านทองหล่อ-เอกมัย ร่วมกันให้ความเห็น “แบบร่าง” ปรับปรุงย่านทองหล่อ-เอกมัยภายใต้วิสัยทัศน์ “แหล่งงานนานาชาติ บาทวิถีเชื่อมผสาน ย่านพักอาศัยชั้นดี วิถีเศรษฐกิจนำเทรนด์” โดยมีพื้นที่นำร่อง 4 จุดหลัก ได้แก่

      1) รอบสถานี BTS ทองหล่อ
      เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเป็นจุดเชื่อมต่อการสัญจร ล้อ ราง เท้า ตลอดจนการเพิ่มศักยภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของการพัฒนาและกิจกรรมที่หลากหลาย

      2) ซอยทองหล่อ/เอกมัย
      กับแนวคิด Good Street และ Street diet ที่จัดสันปันส่วนพื้นที่สัญจรใหม่ ทำให้ผู้ใช้รถยนต์ คนเดินเท้า และผู้ประกอบการริมสองฝั่งอยู่ร่วมกันได้อย่างดี

      3) ซ.ทองหล่อ 10
      เป็น 1 ใน 3 ซอยที่เชื่อมต่อทองหล่อกับเอกมัย กับการเป็นต้นแบบการพัฒนาที่ส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นมิตรกับคนเดิน และการออกแบบที่ผสานพื้นที่ทางเท้า (รัฐ) กับพื้นที่กิจกรรมริมทาง (เอกชน)

      4) โรงพิมพ์สลากฯ
      พื้นที่รัฐที่มีศักยภาพในการเพิ่มพื้นที่โล่งสีเขียวที่มีคุณภาพ โดยการปรับปรุงพื้นที่บางส่วนของโรงพิมพ์สลากฯ และการพลิกฟื้นพื้นที่ว่างริมคลองเป้งที่ต่อเนื่อง

      ขอขอบพระคุณทุกท่านที่มาเข้าร่วมในวันนี้ค่ะ :
      – สนง.ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
      – สถานีตำรวจนครบาลทองหล่อ
      – สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ
      – สำนักงานเขตวัฒนา
      – ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
      – คณะสถาปัตยกรรม จุฬาฯ
      – โรงเรียนแจ่มจันทร์
      – โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ
      – วัดภาษี เอกมัย
      – สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
      – โรงพิมพ์สลากกินแบ่ง
      – หอศิลป์ ศุภโชค ดิ อาร์ต เซนเตอร์
      – สมาคมอาคารชุดไทย (อาคาร สาธรธานี)
      – Ma:D Club for Change
      – ชุมชนนวลจิต
      – ผู้อยู่อาศัยย่านทองหล่อ
      – วินมอร์เตอร์ไซต์ในซอยเอกมัย 4
      – บ. ช.การช่าง จํากัด (มหาชน)
      – บ. อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
      – บ. สยามสินทรัพย์พัฒนา จำกัด
      – บ. เกลสัน ดีเวลลลอปเม้นท์ จำกัด
      – บ. เอ็นเจ็ดเอ จํากัด
      – บ. กลุ่มเบนซ์ทองหล่อ จำกัด
      – บ. สถาปนิกสมดุล จำกัด
      – บ. ออลโซน จำกัด
      – บ. ออลโซน จำกัด
      – บ. สถาปนิก สเปซไทม์ จำกัด
      – บ. ครีเอทีฟมูฟ จำกัด
      – บ. กระต่ายตื่นตัว จำกัด
      – บ. Yellow line studio

      จัดโดย สน.ผังเมือง กทม. ร่วมกับศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC)

    • ย่านโยธี-ราชวิถี กับการร่วมกันแสดงความคิดเห็นกับ “แบบร่าง” การปรับปรุงสภาพแวดล้อมกายภาพ

      เมื่อวันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา ชาวย่านโยธี-ราชวิถี ได้ร่วมกันให้ความเห็น “แบบร่าง” ปรับปรุงย่านโยธี-ราชวิถีสู่ “ย่านบริการสาธารณะไร้รอยเพื่อการเรียนรู้” โดยมีพื้นที่นำร่อง 3 จุดหลัก ได้แก่

      1) skywalk: เพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการเข้าถึงและเชื่อมต่อ โดยสร้าง loop การสัญจรจาก BTS อนุสาวรีย์ชัยฯ แจกเข้าสู่โรงพยาบาลและหน่วยงานต่างๆ บน ถ.ราชวิถี – ถ.พญาไท – ปากซอยโยธี

      2) ถนนโยธี: a big, small street ของย่านนี้ ยาว 1 กม. เชื่อม BTS อนุสาวรีย์ชัยฯ กับ รพ.รามา ที่มีคนสัญจรต่อวันมหาศาล ซึ่งส่วนใหญ่คือ ชาว รพ.รามา ที่มีคนทำงานประมาณ 10,000 คน ผู้ป่วยอีก 8,000 คน (ไม่รวมญาติที่มาเยี่ยมไข้) ซึ่งเสนอให้ปรับปรุงให้เดินได้-เดินดีทั้งวัน มีโครงสร้างกันแดด-กันฝน และแสงสว่าง รวมทั้งพื้นผิวเรียบเสมอ ให้คนที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว สามารถเดินได้อย่างสะดวก

      3) พื้นที่แบ่งปัน (shared space): โดยสลาย “กำแพง” ระหว่างหน่วยงานที่ปัจจุบันเป็นรั้วทึบ และปรับปรุงเป็นพื้นที่โล่ง เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจสำหรับทุกคน

      นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการ connecting the dots หรือเชื่อมโยง “มรดกย่าน” ที่แอบซ่อนอยู่หลังรั้วของหน่วยงาน ให้กลายเป็นเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ของเมือง เช่น
      – พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ ของ กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
      – สวนป่าและตึกกลม ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ ตั้งอยู่ใน ม.มหิดล
      – วังพญาไท สวนโรมัน ท้าวหิรัญพนาสูญ ของ รพ.พระมงกุฎ
      ฯลฯ (*ข้อเสนอจากคุณปองขวัญ ลาซูส ชาวย่านที่วิ่งเล่นในย่านนี้มาแต่ยังเด็ก ด้วยคุณแม่เป็นคุณหมอที่รพ.พระมงกุฎ)

      เวิร์คชอปย่านโยธี-ราชวิถีครั้งที่ 5 (ครั้งสุดท้าย) จะมีขึ้นในวันที่ 25 กพ ช่วงบ่าย เพื่อนำเอาแบบปรับปรุง รวมทั้งแบบร่างข้อกำหนดเพื่อส่งเสริมภูมิทัศน์ของย่านให้มีความสง่างามและมีจิตวิญญานของความเป็นสาธารณะ (civic spirit) สมกับความเป็นย่านราชการยุคใหม่

      ขอขอบพระคุณชาวย่านที่มาร่วม workshop ในวันนี้จาก :
      – สถาบันประสาทวิทยา
      – คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามา
      – รพ.ราชวิถี
      – คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล
      – สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร
      – สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
      – สนง.นวัตกรรมแห่งชาติ กท.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
      – สวทช.
      – มลธ.ช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย
      – บ.เอกมหากิจ จำกัด (เซ็นจูรี่ เดอะ มูฟวี่พลาซ่า)
      – สนง.เขตราชเทวี
      – สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
      – วินมอเตอร์ไซหน้ากท.วิทย์ฯ
      – กลุ่มคนรักษ์อนุสาวรีย์ชัยฯ
      – ชุมชนกองพันทหารสารวัตรที่ 11
      – สนง.ปลัดกท.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
      – กรมวิทยาศาสตร์บริการ
      – NECTEC
      – กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
      – สนง.โรงงานอุตสาหกรรม กท.อุตสาหกรรม
      – สนง.คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
      – ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
      – วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
      – กรมทรัพยากรธรณี
      – องค์การเภสัชกรรม
      – สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
      – วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
      – กรมแพทย์ทหารบก
      – สนง.ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
      – สน.อนามัย กทม.
      – สน.ยุทธศาสตร์และประเมินผล กทม.
      – สน.การศึกษา กทม.
      – สน.การแพทย์ กทม.
      – สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์

      จัดโดย สน.ผังเมือง กทม. ร่วมกับศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC)

    • เดินหน้าโครงการกรุงเทพฯ 250 เฟสสอง

      “…ถึงเวลาฟื้นฟูเมือง เพื่ออนาคต ความหลากหลาย และโอกาสของทุกคน

       

      กรุงเทพฯ 250 คือ ชื่อย่อของโครงการจัดทำผังแม่บทการฟื้นฟูย่านเมืองเก่า ในวาระสำคัญในการเฉลิมฉลอง 250 ปี การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร ร่วมกับศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UddC) เป็นผู้ดำเนินการศึกษา ถือเป็นโครงการฟื้นฟูเมืองโครงการแรกของกรุงเทพมหานคร ที่ดำเนินการในภาพรวมอย่างเป็นระบบ ผ่านกระบวนการคาดการณ์อนาคต (foresight technic) และการวางแผนแบบร่วมหารือ (deliberative planning) ของคนหลากหลายกลุ่ม เพื่อให้เกิดเชื่อมต่อและเติมเต็มกับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร สู่เมืองน่าอยู่ หลากหลาย และเต็มไปด้วยโอกาสสำหรับทุกคน

       

      ผลลัพธ์สำคัญของกรุงเทพฯ250 ระยะที่ 1 (ธ.ค.2557 – ก.ค.2558) คือ การจัดทำผังฟื้นฟูเมืองใน 2 ระดับ ได้แก่ (1) ผังยุทธศาสตร์การฟื้นฟูย่านเมืองเก่า ที่จะใช้เป็นกรอบแนวทางในการฟื้นฟูเขตเมืองชั้นในของกรุงเทพฯ ครอบคลุมพื้นที่ 17 เขต และ (2) ผังแม่บทอนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่นำร่องย่านกะดีจีน-คลองสาน สู่ย่านประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ซึ่งได้เริ่มดำเนินการให้เป็นตามแผนงบประมาณระยะที่ 1 ได้แก่ โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ทางเดินริมน้ำย่านกะดีจีน โครงการพัฒนาศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยวทางน้ำ-จักรยานสะพานพุทธ (กำหนดแล้วเสร็จประมาณต้นปี 2560) เป็นต้น

       

      ด้วยความสำเร็จที่ผ่านมา โครงการกรุงเทพฯ250 ระยะที่ 2 (ธ.ค.2558 – มิ.ย.2559) ได้ริเริ่มขึ้นเพื่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การฟื้นฟูเมืองให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยได้คัดเลือกพื้นที่นำร่องจำนวน 3 แห่งตามกรอบแนวทางของผังยุทธศาสตร์การฟื้นฟูย่านเมืองเก่า ได้แก่ (1) ย่านท่าพระจันทร์-ปากคลองตลาด (historical district) (2) ย่านโยธี-ราชวิถี (innovation district) และ (3) ย่านทองหล่อ-เอกมัย (lifestyle district) ซึ่งจะดำเนินโครงการด้วยกระบวนการคาดการณ์อนาคต และการวางแผนแบบร่วมหารือร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและภาคียุทธศาสตร์ต่อไป

  • 2015

    • การนำเสนอสาธารณะ “กรุงเทพฯ 250: อนาคต ความหลากหลาย โอกาสของทุกคน”

            ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2558 สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร ร่วมกับศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง(UddC) จัดให้มีการนำเสนอสาธารณะ “กรุงเทพฯ 250: อนาคต ความหลากหลาย โอกาสของทุกคน”  โดยมีหม่อมราชวงศ์ สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้เกียรติเป็นประธานในงานครั้งนี้ 

              ภายในงาน ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ได้นำเสนอผลลัพธ์ที่สำคัญที่ได้จากการศึกษา 5 หมวด ได้แก่ (1) 10 เทรนด์การใช้ชีวิตในเขตเมืองชั้นใน (2) 8 ย่านใหม่กรุงเทพฯ (3) ผังแม่บทการฟื้นฟูพื้นที่ย่านเมืองเก่า (4) ผังแม่บทการอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านกะดีจีน-คลองสาน และ (5) เครื่องมือและมาตรการสู่การปฏิบัติ ภายในงานมีนิทรรศการที่บอกเล่าถึง ที่มา ความสำคัญ รายละเอียด และผลลัพธ์ของโครงการ และจัดแสดงหุ่นจำลองแสดงรายละเอียดโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านกะดีจีน–คลองสานที่เป็นพื้นที่โครงการนำร่อง โดยนิทรรศการจะจัดแสดงที่โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์วันไปจนถึงวันที่ 2 สิงหาคม 2558 และจัดแสดงต่อเนื่องที่ลานคริสตัล คอร์ท (ฝั่งนอร์ท) ชั้นเอ็ม ศูนย์การค้าสยามพารากอน

               โครงการกรุงเทพฯ 250 (ชื่อเต็ม โครงการจัดทำผังแม่บทการฟื้นฟูย่านเมืองเก่าและการอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านกะดีจีน–คลองสาน) เป็นโครงการที่ดำเนินการโดยสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร ร่วมกับศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาผังแมบทการฟนฟูยานเมืองเกา อันมีอาณาบริเวณครอบคลุม 17เขตพื้นที่การปกครองของพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นใน และ ดําเนินการโครงการนํารองเพื่อเปนตนแบบการฟนฟูยานเมืองเกา ในพื้นที่ยานกะดีจีน-คลองสาน  โดยจัดว่าเป็นโครงการแรกของกรุงเทพมหานครและประเทศไทย ที่ไดนํายุทธศาสตรการวางแผนฟนฟูเมืองดวยเทคนิคการคาดการณ์อนาคต (Foresight) มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการลงมือปฏิบัติอย่างแท้จริง ซึ่งโครงการได้ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2557 และจะแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคมนี้

       

    • “กรุงเทพฯ 250: อนาคต โอกาส ความหลากหลายของทุกคน”

                     ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2558 ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ร่วมกับ สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “กรุงเทพฯ 250”  โดยโครงการดังกล่าวเป็นโครงการจัดทำผังแม่บทการฟื้นฟูเมืองของกรุงเทพมหานคร ในวาระครบ 250 ปีในปี2575 โครงการฯ มีเป้าหมายจะพลิกฟื้นพื้นที่เมืองชั้นในให้น่าอยู่ และพัฒนาเป็นมหานครระดับโลก โดยมีนายวันชัย ถนอมศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดงานพร้อมทั้งได้รับความกรุณาจากศาสตราจารย์ ดร. พระพรหมบัณฑิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร มาร่วมงานเพื่อกล่าวให้โอวาทในฐานะตัวแทนของย่านกะดีจีน-คลองสานซึ่งเป็นพื้นที่นำร่องเพื่อการฟื้นฟูเมืองของโครงการฯ อีกด้วย

       

                    ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ได้นำเสนอภาพอนาคตของกรุงเทพฯ ปี 2575 หรืออีก 17 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นผลการจากการศึกษาด้วยวิธีบูรณาการแนวใหม่ อันประกอบไปด้วย เทคนิคการคาดการณ์อนาคต (Foresight) และการร่วมหารือกับคนหลากหลายกลุ่ม โดย ผลลัพธ์ที่ได้คือ 10 / 8 / 6 ซึ่งได้แก่ 10 เทรนด์การใช้ชีวิต/8 ย่านใหม่ของกรุงเทพฯ / 6 การเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพที่สำคัญซึ่งเป็นผลเบื้องต้นของโครงการทั้งหมด ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการที่บอกเล่าถึงรายละเอียด ที่มา และความสำคัญ รวมถึงสิ่งที่จะทำต่อไปในอนาคตภายใต้กรอบการทำงานของโครงการฯ นี้ และยังจัดแสดงตัวอย่างโครงการฟื้นฟูเมืองตัวอย่างที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นผลงานวิทยานิพนธ์สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้ผู้เข้าชมได้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ชัดยิ่งขึ้น

      นอกจากนี้ภายในงานยังมีการจัดเสวนาในหัวข้อ กรุงเทพฯ 250 : อนาคต โอกาส ความหลากหลายของทุกคน ซึ่งดำเนินรายการโดย ผศ. ดร.ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ร่วมกับ ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการคาดการณ์อนาคตเมือง ดร.คณิสร์ แสงโชติ ผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์และการพัฒนาเมือง              คุณโตมร ศุขปรีชา คอลัมนิสต์และเจ้าของงานเขียนว่าด้วยวิถีคนเมืองร่วมสมัย  คุณธนิชา นิยมวัน นักผังเมืองและอาจารย์พิเศษ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมืองฯ

       

       

                 โครงการกรุงเทพฯ 250 ชื่อเต็ม โครงการจัดทำผังแม่บทการฟื้นฟูย่านเมืองเก่าและการอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านกะดีจีน–คลองสาน เป็นโครงการที่ดำเนินการโดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ร่วมกับ สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาผังแมบทการฟนฟูยานเมืองเกา อันมีอาณาบริเวณครอบคลุม 17 เขตพื้นที่การปกครองของพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นใน และ ดําเนินการโครงการนํารองเพื่อเปนตนแบบการฟนฟูยานเมืองเกา ในพื้นที่ยานกะดีจีน-คลองสาน  โดยจัดว่าเป็นโครงการแรกของกรุงเทพมหานครและประเทศไทย ที่ไดนํายุทธศาสตรการวางแผนฟนฟูเมืองดวยเทคนิคการคาดการณ์อนาคต (Foresight) มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการลงมือปฏิบัติอย่างแท้จริง ซึ่งโครงการได้ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2557 และจะแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคมนี้

    • บรรยากาศการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (KK Design Marathon)

      บรรยากาศการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ออกแบบรายละเอียดพื้นที่นำร่องย่านกะดีจีน-คลองสาน (KK Design Marathon)
      ณ ห้องประชุม ชั้น 9 รพ.สมเด็จเจ้าพระยา ย่านคลองสาน

    • Workshop ผังแม่บทฟื้นฟูย่านเมืองเก่า 17 เขต

      Workshop ผังแม่บทฟื้นฟูย่านเมืองเก่า 17 เขต : การเชื่อมโยงย่านที่มีความหลากหลายอย่างมียุทธศาสตร์ (strategic connectivity) เพื่อให้เกิดการผสานพลังในระดับเมือง (synergic diversity)
      นับเป็น workshop หมายเลข 14 ที่จบลงแล้วอย่างคึกคักจากผู้ที่เข้าร่วมกว่า 120 คนจากผู้บริหาร สน.ผังเมือง กรุงเทพมหานคร / สนง.เขตทั้ง 17 เขต / หน่วยราชการ-รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง / ภาคเอกชน / องค์กรอิสระ / ผู้นำชุมชนในพื้นที่ ตลอดจนอดีตท่าน สก.และ สข.ก็กรุณาให้ความสนใจมาร่วมแสดงความคิดเห็น
      ขอบพระคุณผู้เข้าร่วมอีกครั้ง สำหรับข้อมูลที่ insight รวมทั้งข้อเสนอแนะที่มีประโยชน์ในการปรับปรุงผังต่อไป

    • งานประชาพิจารณ์ ย่านกะดีจีน-คลองสาน

                ในวันที่ 20 มิถุนายน 2558 ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ร่วมกับ สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร จัดงานประชาพิจารณ์โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านกะดีจีน-คลองสาน โดยโครงการดังกล่าวเป็นโครงการฟื้นฟูเมืองนำร่อง เพื่อเป็นต้นแบบการอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านเมืองเกา ภายใต้โครงการกรุงเทพฯ 250 โดยมีคุณปัญญภัสสร์ นพพันธ์ รองผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดงาน

               ในการนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ได้นำเสนอ (ร่าง) ผังแม่บทเพื่อการอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านกะดีจีน-คลองสาน ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากกระบวนการร่วมหารือ ตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการกว่า 6 เดือนที่ผ่านมาโดย (ร่าง) ผังแม่บทดังกล่าวได้รับการวางผังให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของย่านที่ได้มาจากกระบวนการ “การมองภาพอนาคต”  ซึ่งครอบคลุม 5 ประเด็นสำคัญได้แก่ 1) ที่อยู่อาศัย 2) การท่องเที่ยว 3) เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 4) วิสาหกิจชุมชน และ 5) ความหลากหลาย ซึ่งเนื้อหาของ (ร่าง) ผังแม่บทประกอบไปด้วยเนื้อหา 2 ส่วนสำคัญได้แก่ รายละเอียดการออกแบบพื้นที่ยุทธศาสตร์ และมาตรการควบคุมและส่งเสริมภูมิทัศน์

                สาระสำคัญของงานประชาพิจารณ์ในครั้งนี้ ได้แก่ พื้นที่ยุทธศาสตร์ที่ควรได้รับการหยิบยกขึ้นมาดำเนินการก่อน ซึ่งได้ถูกคัดเลือกและดำเนินการ “ออกแบบ” ปรับปรุงพื้นที่อย่างมีส่วนร่วมโดยชาวย่านกะดีจีน-คลองสาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคีพัฒนา ตลอดระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่าน โดยพื้นที่ยุทธศาสตร์ 5 จุดประกอบด้วย

      1) ทางเดินทางจักรยานริมน้ำย่านกะดีจีน

      2) ศูนย์ท่องเที่ยวและจุดเปลี่ยนถ่ายเรือรถจักรยานสะพานพุทธฯ

      3) ทางเดินทางจักรยานริมน้ำย่านคลองสาน

      4) ถนนคนเดินโอชาท่าดินแดง

      5) สวนลอยฟ้าสะพานพระปกฯ

                นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการที่บอกเล่าถึงรายละเอียด ที่มา และความสำคัญ รวมถึงการดำเนินงานในขั้นต่อไปของโครงการฯ  และได้จัดแสดงแบบจำลองสามมิติของพื้นที่ยุทธศาสตร์เพื่อให้ผู้สนใจที่เข้าชม ได้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยการจัดงานครั้งนี้ได้รับความสนใจจากผู้อยู่อาศัยภายในย่าน และบุคคลทั่วไป รวมถึงหน่วยงานจากภายนอกรวมมากกว่า 200 คน

               ข้อคิดเห็นที่ได้รับจากงานประชาพิจารณ์ในครั้งนี้ จะถูกนำไปใช้เพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้ผังแม่บทมีความสมบูรณ์ และสามารถพัฒนาให้ย่านกะดีจีน-คลองสานเป็นย่านอนุรักษ์นำร่อง ที่เป็นต้นแบบของการฟื้นฟูเมือง ในวาระที่กรุงเทพมหานครจะครบรอบ 250 ปี ในปี พ.ศ.2575 ต่อไป