ตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา พื้นที่กรุงเทพมหานครนั้นมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ด้วยการพัฒนาแบบรวมศูนย์ ทำให้กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ มีการขยายตัวขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นเมืองโตเดี่ยว และยังคงขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง รูปแบบการพัฒนาเมืองของกรุงเทพฯ ที่ผ่านมานั้น มุ่งเน้นไปที่ “การขยายเมืองแนวราบ” (Suburbanization) เป็นหลัก โดยเริ่มจากประมาณช่วงปี พ.ศ.2450 ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาเมือง การขยายตัวในช่วงนี้ยังมีไม่มากนัก โดยจะอยู่บริเวณเขตเมืองชั้นในของกรุงเทพฯ ต่อมาในช่วง พ.ศ.2500
ด้วยความที่ โครงการกรุงเทพฯ 250 เป็นโครงการฟื้นฟูเมืองกรุงเทพฯชั้นในที่มีสภาพเสื่อมโทรมให้กลับมามีชีวิตใหม่ เหมาะสมกับวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต การจะทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จได้นั้น จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจวิถีชีวิตของคนเมือง ซึ่งเป็นเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในชุมชนเมืองสมัยใหม่ทั่วโลก เพื่อให้โครงการกรุงเทพฯ 250 สามารถตอบสนองการใช้ชีวิตของคนเมืองในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากวิถีชีวิตของคนเมืองในปัจจุบันนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลาและไม่หยุดนิ่ง ระบบเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ (ICT) มีบทบาทอย่างมากในการอำนวยความสะดวกและรองรับการใช้ชีวิต อุปกรณ์สื่อสารพกพารูปแบบต่างๆ ได้กลายมาเป็นปัจจัยที่ 5 ที่ช่วยลดข้อจำกัดด้านเวลาที่มีอยู่เดิม
กรุงเทพฯ 250 กับเทรนด์การใช้ชีวิตเมือง # 2 : รางเชื่อมเมือง (Connected track) #Bangkok250 จากความนิยมใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทางเข้าสู่ตัวเมืองชั้นในของกรุงเทพฯ ทำให้เกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนกรุงมากมายทั้ง มลภาวะเป็นพิษจากการจราจร การเสียเวลาไปกับการเดินทาง รวมทั้งปัญหาความเครียดที่เกิดขึ้นจากการเดินทาง ทำให้ในปัจจุบันมีการส่งเสริมให้เกิดระบบขนส่งทางรางที่มีประสิทธิภาพขึ้น เพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ และเป็นทางเลือกหลักสำหรับการเดินทางของคนกรุง ทำให้เทรนด์รางเชื่อมเมือง
กรุงเทพฯ 250 กับเทรนด์การใช้ชีวิตเมือง # 3 : อิสระแห่งการทำงาน #Bangkok250 ระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้คนเมืองในยุคใหม่มีวิถีการทำงานที่ยืดหยุ่น ไม่ยึดติดกับกรอบเวลา องค์กร หรือสถานที่ ทำให้ทำเลของที่อยู่อาศัยไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการทำงานอีกต่อไป เนื่องจากต่อไปนี้ทุกคนจะสามารถทำงานที่ใดก็ได้ เมื่อใดก็ได้ ผ่านระบบการทำงานออนไลน์ (Online working) และจะทำให้อิสระแห่งการทำงาน
ด้วยความที่เมืองใหญ่นั้นประกอบด้วยพื้นที่หลากหลาย การเดินทางเชื่อมพื้นที่ต่างๆ ภายในเมืองจึงสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เมืองมหานครที่น่าอยู่ทุกแห่ง ควรมีการควบคุมปริมาณรถยนต์ในเขตพื้นที่ชั้นในให้น้อย เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะตามมา ทั้งมลภาวะเป็นพิษจากการจราจร และปัญหาความแออัด ตลอดจนการสิ้นเปลืองพลังงานในการใช้รถยนต์ส่วนตัว เมืองใหญ่ทุกเมืองจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมี การบริการสาธารณะที่สะดวก (Convenient Public service) เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนในเมืองลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ดังนั้น ทั้งภาครัฐและเอกชนควรร่วมมือกัน มุ่งเน้นให้เกิดการให้บริการแบบครบวงจร
นอกจากการฟื้นฟูพื้นที่ย่านเก่าบริเวณเขตกรุงเทพฯชั้นใน จะทำให้มีการใช้งานพื้นที่เมืองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว ยังเอื้ออำนวยให้เกิดการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่การบูรณาการยิ่งขึ้น (Integrated Cultural Tourism) การฟื้นฟูพื้นที่ย่านเก่าจะเอื้ออำนวยให้เกิดระบบกิจกรรมใหม่ๆ ภายในกรุงเทพฯ ส่งผลทำให้เกิดพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย เทรนด์การท่องเที่ยวแนวใหม่คือการท่องเที่ยวที่เน้นการเข้าไปสัมผัสเพื่อให้ได้รับประสบการณ์ตรงในพื้นที่แห่งต่างๆ อย่างลึกซึ้ง มีการใช้เวลาในแต่ละสถานที่มากขึ้น เพื่อให้ได้สัมผัสวัฒนธรรมที่แท้จริงของท้องถิ่น การท่องเที่ยวแบบฉาบฉวยประเภทชะโงกหน้าดูจากรถทัวร์จะถูกลดทอนบทบาทลงในอนาคต พฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบใหม่จะส่งผลให้ธุรกิจที่ดินภายในกรุงเทพฯ ถีบราคาพุ่งสูง และทำให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการซื้อขายเพื่อถ่ายโอนกรรมสิทธิ์ จากเดิมที่ส่วนใหญ่เป็นการซื้อขายขาด เป็นปล่อยเช่าที่ดินแบบระยะยาว ซึ่งยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการต่างชาติ
เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างสังคมของกรุงเทพฯในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนของผู้สูงอายุที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รวมทั้งการเข้าร่วมเป็นประชาคมอาเซียน (AEC) ที่ส่งผลให้ชาวต่างชาติที่เข้ามาพำนักและทำงานในประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้น มีแนวโน้มว่าจะเกิดอุตสาหกรรมใหม่กลางเมือง (New urban industries) ที่จะพัฒนาไปเพื่อตอบสนองวิถีชีวิตดังกล่าว อุตสาหกรรมใหม่กลางเมืองที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นในเขตเมืองชั้นในกรุงเทพฯ มีลักษณะพิเศษร่วมกันคือ เป็นอุตสาหกรรมสะอาดที่มีระบบการผลิตขนาดเล็กกะทัดรัดจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป และเกิดขึ้นเพื่อตอยสนองไลฟ์สไตล์เมืองในอนาคต อาทิ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและสุขภาพ เน้นการพักผ่อนไม่เน้นความเร่งรีบ อุตสาหกรรมการเกษตรทางเลือกกลางเมือง เช่น
กรุงเทพฯ 250 กับเทรนด์การใช้ชีวิตเมือง # 7 : แหล่งพลังงานหลากหลายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม #Bangkok250 อีกเทรนด์หนึ่งที่จะเกิดขึ้น หลังจากที่กรุงเทพฯมีการฟื้นฟูพื้นที่ชั้นในคือ จะเกิดความตื่นตัวในการเป็นสังคมปลอดมลพิษและการใช้พลังงานทดแทน โดยมีแนวโน้มว่าจะมีการเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงาน จากที่เคยพึ่งพาพลังงานจากน้ำมันเพียงอย่างเดียว มาเป็นการใช้แหล่งพลังงานหลากหลายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Diversified environmental-friendly energy sources) รวมถึงเทคโนโลยีด้านพลังงานที่พัฒนาขึ้น อาทิ