โครงการพัฒนาและปรับปรุงฟื้นฟูย่านทองหล่อ-เอกมัย
ย่านทองหล่อ-เอกมัย แม้ว่าจะตั้งอยู่นอกเขตพื้นที่เมืองชั้นใน และอยู่นอกเหนือผังแม่บทการฟื้นฟู ย่านเมืองเก่า แต่นับเป็นย่านที่อยู่อาศัยและแหล่งงานที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร
ที่กำลังมีการ เติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเป็นศูนย์รวมของกลุ่มคนรุ่นใหม่และกลุ่มธุรกิจสร้างสรรค์รนำเทรนด์ (trend setter) ของเมือง จึงถือเป็นพื้นที่นำร่องที่มีศักยภาพ
ในการฟื้นฟูสู่ย่านที่อยู่อาศัยและแหล่งงานชั้นดี
ตั้งอยู่จุดยุทธศาสตร์สำคัญ
บริเวณรอยต่อพื้นที่กรุงเทพฯ
ตั้งอยู่จุดยุทธศาสตร์สำคัญ บริเวณรอยต่อพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นกลางและพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นนอก ไม่ห่างจากย่านธุรกิจการค้าและพื้นที่เปลี่ยนถ่ายสำคัญของเมือง
โอกาสและความท้าทายในการฟื้นฟูย่าน
ที่เข้ามาพร้อมกลุ่มคนใหม่
โอกาสและความท้าทายในการฟื้นฟูย่านที่เข้ามาพร้อมกลุ่มคนใหม่ จะเป็นจุดดึงดูดให้ผู้คนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ประกอบการเข้ามาประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลากหลาย
เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน
เพื่อตอบสนองการท่องเที่ยวแบบมวลชน
เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อตอบสนองการท่องเที่ยวแบบมวลชน (mass) ส่งผลให้เกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็วส่งผลให้คุณค่าและเอกลักษณ์ของย่านถูกลดทอนลง
ภาพอนาคต

ย่านชุมชนพักอาศัยริมน้ำหนาแน่นสูงคุณภาพดี
(Unique Riverside Mixed Nieghborhood High Density)

แนวคิด
  • ย่านชุมชนดั้งเดิม-ใหม่ละแวกบ้านชั้นดี
  • คุณภาพของการอยู่อาศัยที่ดีและมีอัตลักษณ์
  • ย่านที่อยู่อาศัยแบบผสมผสาน
การออกแบบ
    อนุรักษ์ฟื้นฟูอาคารที่มีคุณค่าให้เป็นที่อ่อาศัย และมีการใช้ประโยชน์ใหม่
  • ฟื้นฟูบูรณะอาคารเดิมให้มีการใช้ประโยชน์ผสมผสาน
  • พัฒนาที่อยู่อาศัยความหนาแน่นสูงมีคุณภาพดีในย่านเก่า

เครือข่ายการท่องเที่ยวมรกดท้องถิ่นชั้นนำ
(Leading Local Heritage Tourism Cluster)

แนวคิด
  • แหล่งที่จุดหมายปลายทางชั้นนำ (Tourist Destination)
  • การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
  • เครือข่ายการท่องเที่ยว
  • การท่องเที่ยวในพื้นที่อย่างสมดุล
การออกแบบ
  • เชื่อมโยงโครงข่ายการท่องเที่ยวมรดกวัฒนธรรม
  • เพิ่มเติม ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกด้ารการท่องเที่ยว
  • อนุรักษ์ ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในพื้นที่

ย่านชุมชนสร้างสรรค์ร่วมสมัย
(Contemporary Community base Creative District)

แนวคิด
  • ย่านที่ถูกขับเคลื่อนด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ร่วมสมัย
  • การพัฒนาแหล่งพลังงานใหม่ จากฐานของชุมชนและทุนทางสังคมในพื้นที่
การออกแบบ
  • ปรับปรุง เพิ่มเติมพื้นที่ที่เป็นแหล่งทำงาน ผลิตสินค้าและบริการ
  • ปรับปรุง เพิ่มเติมพื้นที่แสดงงาน และพบปะของกลุ่มคนในเศรษฐกิจสร้างสรรค์
  • ปรับปรุง เพิ่มเติมพื้นที่พักอาศัยของกลุ่มคนในเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ต้นแบบธุรกิจจากมรดกท้องถิ่น
(Local Heritage Business Showcase)

แนวคิด
  • การส่งเสริมการพัฒนาต้นแบบของธุรกิจจากการสร้างสรรค์ของมรดกในพื้นที่
  • การกระจายรายได้สู่ชุมชนจากโอกาสในการพัฒนาใหม่
การออกแบบ
  • ปรับปรุง สร้างให้เกิดพื้นที่จำหน่ายสินค้าและบริการวิสาหกิจชุมชน
  • ปรับปรุง ฟื้นฟูที่มรดกวัฒนธรรมให้เป็รต้นแบบธุรกิจ
  • สร้างให้เกิดศูนย์กลางวิสาหกิจชุมชน

พื้นที่สาธารณะร่วมของหลากวัฒนธรรม
(Multi-Culturally Integrated Public Space)

แนวคิด
  • การสร้างพื้นที่สาธรณะที่ใช้ร่วมกันระหหว่างหลายกลุ่มวัฒนธรรม
  • การบูรณาการอย่างแนบแน่นกับความหลากหลายและการใช้พื้นที่ในช่วงเวลาต่างๆในหลายระดับ
การออกแบบ
  • สร้างให้เกิด ปรับปรุงพื้นที่สาธรณะระดับชุมชน ย่าน และเมือง
ผังแม่บท
ทัศนียภาพของโครงการ
เอกสารของโครงการ
ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารต่าง ๆ ของโครงการได้ที่นี่