โครงการพัฒนาพื้นที่ย่านย่านท่าพระจันทร์-ท่าช้าง-ท่าเตียน
ย่านท่าพระจันทร์-ท่าช้าง-ท่าเตียน คือหนึ่งในพื้นที่ยุทธศาสตร์ของกลุ่มเมืองเก่ารัตนโกสินทร์ตามแผนฟื้นฟูเมืองกรุงเทพฯ250 ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมสูงสุด
ที่ตั้ง ณ “หัวแหวนของกรุงรัตนโกสินทร์”
ที่ตั้ง ณ “หัวแหวนของกรุงรัตนโกสินทร์” คือรอยต่อเชื่อมสำคัญของเมืองหลวง 2 ยุคสมัย จากกรุงธนฯ สู่กรุงเทพฯ
การลดลงของจำนวนประชากรเวลากลางวัน
การลดลงของจำนวนประชากรเวลากลางวัน และการหดตัวของเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง หลังประกาศใช้แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ 2538
การเหินของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแบบแมส
การเหินของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแบบแมส ที่เน้นกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ และขาดการวางแผนและจัดการ นำมาซึ่งสารพัดปัญหาในพื้นที่
โอกาสและความท้าทายในการฟื้นฟูย่าน
โอกาสและความท้าทายในการฟื้นฟูย่าน ที่มากับการพัฒนาระบบราง เพื่อสร้างดุลยภาพใหม่ทางสังคมและเศรษฐกิจของคนกลุ่มต่างๆในพื้นที่ รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทย ในการเข้าถึงพื้นที่ริมน้ำและเรียนรู้มรดกวัฒนธรรมของย่านประวัติศาสตร์แห่งนี้
เป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับพื้นที่นำร่อง
“ย่านท่าพระจันทร์-ท่าช้าง-ท่าเตียน” เป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับพื้นที่นำร่อง “ย่านกะดีจีน-คลองสาน” ของแผนกรุงเทพฯ250 ระยะที่ 1 (พ.ย. 2557 - ก.ค. 2558) การฟื้นฟูย่านประวัติศาสตร์ริมน้ำทั้งสอง จึงเป็นการผสานภาพ “กรุงธน-กรุงเทพฯ” ในกลับมาเด่นชัด เริ่มต้นเลยในปี 2560 ที่กรุงธนฯ ครบรอบ 250 ปี
ภาพอนาคต

ย่านชุมชนพักอาศัยริมน้ำหนาแน่นสูงคุณภาพดี
(Unique Riverside Mixed Nieghborhood High Density)

แนวคิด
  • ย่านชุมชนดั้งเดิม-ใหม่ละแวกบ้านชั้นดี
  • คุณภาพของการอยู่อาศัยที่ดีและมีอัตลักษณ์
  • ย่านที่อยู่อาศัยแบบผสมผสาน
การออกแบบ
    อนุรักษ์ฟื้นฟูอาคารที่มีคุณค่าให้เป็นที่อ่อาศัย และมีการใช้ประโยชน์ใหม่
  • ฟื้นฟูบูรณะอาคารเดิมให้มีการใช้ประโยชน์ผสมผสาน
  • พัฒนาที่อยู่อาศัยความหนาแน่นสูงมีคุณภาพดีในย่านเก่า

เครือข่ายการท่องเที่ยวมรกดท้องถิ่นชั้นนำ
(Leading Local Heritage Tourism Cluster)

แนวคิด
  • แหล่งที่จุดหมายปลายทางชั้นนำ (Tourist Destination)
  • การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
  • เครือข่ายการท่องเที่ยว
  • การท่องเที่ยวในพื้นที่อย่างสมดุล
การออกแบบ
  • เชื่อมโยงโครงข่ายการท่องเที่ยวมรดกวัฒนธรรม
  • เพิ่มเติม ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกด้ารการท่องเที่ยว
  • อนุรักษ์ ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในพื้นที่

ย่านชุมชนสร้างสรรค์ร่วมสมัย
(Contemporary Community base Creative District)

แนวคิด
  • ย่านที่ถูกขับเคลื่อนด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ร่วมสมัย
  • การพัฒนาแหล่งพลังงานใหม่ จากฐานของชุมชนและทุนทางสังคมในพื้นที่
การออกแบบ
  • ปรับปรุง เพิ่มเติมพื้นที่ที่เป็นแหล่งทำงาน ผลิตสินค้าและบริการ
  • ปรับปรุง เพิ่มเติมพื้นที่แสดงงาน และพบปะของกลุ่มคนในเศรษฐกิจสร้างสรรค์
  • ปรับปรุง เพิ่มเติมพื้นที่พักอาศัยของกลุ่มคนในเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ต้นแบบธุรกิจจากมรดกท้องถิ่น
(Local Heritage Business Showcase)

แนวคิด
  • การส่งเสริมการพัฒนาต้นแบบของธุรกิจจากการสร้างสรรค์ของมรดกในพื้นที่
  • การกระจายรายได้สู่ชุมชนจากโอกาสในการพัฒนาใหม่
การออกแบบ
  • ปรับปรุง สร้างให้เกิดพื้นที่จำหน่ายสินค้าและบริการวิสาหกิจชุมชน
  • ปรับปรุง ฟื้นฟูที่มรดกวัฒนธรรมให้เป็รต้นแบบธุรกิจ
  • สร้างให้เกิดศูนย์กลางวิสาหกิจชุมชน

พื้นที่สาธารณะร่วมของหลากวัฒนธรรม
(Multi-Culturally Integrated Public Space)

แนวคิด
  • การสร้างพื้นที่สาธรณะที่ใช้ร่วมกันระหหว่างหลายกลุ่มวัฒนธรรม
  • การบูรณาการอย่างแนบแน่นกับความหลากหลายและการใช้พื้นที่ในช่วงเวลาต่างๆในหลายระดับ
การออกแบบ
  • สร้างให้เกิด ปรับปรุงพื้นที่สาธรณะระดับชุมชน ย่าน และเมือง
ผังแม่บท
ทัศนียภาพของโครงการ
เอกสารของโครงการ
ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารต่าง ๆ ของโครงการได้ที่นี่