2575 กรุงเทพฯ จะเป็นอย่างไร?

นับถอยหลังสู่กรุงเทพฯ 250 ไปด้วยกัน

10 เทรนด์ 8 ย่าน 6 การเปลี่ยนแปลง
  • ชีวิตเรียนรู้
    ทุกที่ทุกเวลา
  • รางเชื่อมเมือง
  • อิสระแห่ง
    การทำงาน
  • การบริการ
    สาธารณะที่สะดวก
  • บูรณาการของ
    การท่องเที่ยว
    เชิงวัฒนธรรม
  • อุตสาหกรรมใหม่
    กลางเมือง
  • แหล่งพลังงาน
    หลากหลายที่เป็น
    มิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • โครงการสร้าง
    ประชากรใหม่
  • ความปกติใหม่
    ของชีวิตคนเมือง
  • การพัฒนา
    อย่างทั่วถึง
  • ย่านประวัติศาสตร์
  • ย่านศูนย์ราชการ
  • ย่านการผลิตใหม่
  • ย่านนานาชาติ
  • ย่านพาณิชยกรรม
  • ย่านที่อยู่อาศัย
  • ย่านสร้างสรรค์
  • ย่านอัจฉริยะ

ย่านที่มีประวัติการตั้งถิ่นฐานมาเป็นระยะเวลานาน มีองค์ประกอบที่มีคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์ และมรดกทางวัฒนธรรมหลงเหลืออยู่ โดยส่วนใหญ่แล้วมักมีสัณฐาน
เชิงกายภาพที่สัมพันธ์กับภูมิศาสตร์ดั้งเดิมของพื้นที่เมือง และยังคงมีระบบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมาแม้กระทั่งในปัจจุบัน

ย่านที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่โดยสถาบันของภาครัฐ โดยมีวัตถุประสงค์ของหลักของการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเป็นที่ตั้งของกลุ่มอาคารสานักงานของภาครัฐ
และเพื่อประโยชน์ใช้สอยประเภทอื่นๆ เช่น ที่พักอาศัย เป็นต้น

ย่านเก่าที่ได้รับการขับเคลื่อนใหม่ด้วยระบบอุตสาหกรรมรูปแบบใหม่ โดยมีแนวโน้มเป็นเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวที่มีระบบการผลิตขนาดเล็กลงด้วยระบบนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการผลิตในอนาคต

ย่านเก่าที่ได้รับการขับเคลื่อนใหม่จากการรวมตัวกันของประชากรต่างด้าวที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยมีขอบเขตคลอบคลุมทั้งย่านที่มีพัฒนาการมาเป็นระยะเวลานาน และย่านที่กาลังอยู่ในระหว่างการสะสมตัวของกลุ่มประชากร

ย่านที่เป็นพื้นที่ศูนย์กลางทางธุรกิจและกิจกรรมทางการค้าทั้งในอดีตและปัจจุบัน มักมีความหนาแน่นของระบบกายภาพและกิจกรรมสูงกว่าพื้นที่เมืองบริเวณอื่นๆ
ประกอบไปด้วยกลุ่มอาคารที่มีความหลากหลาย เช่น อาคารแถว สำนักงาน อาคารสูง ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น

ย่านที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่เพื่อการอยู่อาศัย มีรูปแบบที่มีความหลากหลาย คลอบคลุมทั้งย่านที่อยู่อาศัยทางแนวราบและแนวตั้ง
อาทิ ย่านที่อยู่อาศัยริมน้า ย่านตึกแถวและทาวเฮาส์ ย่านชุมชนแออัด ย่านหมู่บ้านจัดสรร ย่านหอพัก ย่านการเคหะ ย่านคอนโดมิเนียม ฯลฯ

ย่านเก่าที่ได้รับการขับเคลื่อนใหม่ด้วยกลุ่มคนที่ทางานด้านศิลปะ การออกแบบ ดนตรี วรรณกรรม และการแสดง โดยกลุ่มคนเหล่านี้มักจะแสวงหาพื้นที่พักอาศัยที่ผนวกกับพื้นที่สร้างสรรค์งาน สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับชีวิตได้ดีในขณะที่มีต้นทุนทางราคาที่ต่ำ

ย่านอัจฉริยะซึ่งขับเคลื่อนโดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบการสื่อสารบนโครงข่ายอิเลคโทรนิคส์
เป็นย่านที่มีขอบเขตของพื้นที่และประชากรที่คาดเคลื่อนจากพื้นที่ย่านในโลกแห่งความเป็นจริง

  • การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน
    และอาคารเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย
  • การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน
    จากระบบเศรษฐกิจ
  • การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน
    ของย่านศูนย์ราชการ
  • การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน
    จากการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมพหุวัฒนธรรม
  • การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเมือง
    ด้านการขนส่ง
  • การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเมือง
    ด้านอื่นๆ

  • ความต้องการที่อยู่อาศัยขนาดเล็กในเขตเมืองชั้นในที่เพิ่มสูงขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและขนาดของครอบครัว ผลักดันให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ทางแนวตั้งในบริเวณชุมชนต่างๆ โดยเฉพาะพื้นที่โดยรอบพื้นที่จุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร เกิดปรากฎการณ์การเหินขึ้นของราคาพื้นที่อยู่อาศัยใจกลางเมือง และการซื้อขายเพื่อการเก็งกาไรมากกว่าการอยู่อาศัย
  • การเปลี่ยนแปลงระบบกายภาพของพื้นที่ชุมชนเก่า เพื่อรองรับความต้องการด้านที่อยู่อาศัยของประชากรผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง และประชากรแรงงานต่างชาติ ทั้งในรูปแบบของการเพิ่มความหนาแน่นทางแนวตั้งในรูปแบบของการพัฒนาใหม่และการเพิ่มความหนาแน่นทางแนวนอนภายใต้ขนาดของมวลอาคารเดิม
  • การเปลี่ยนแปลงระบบการถ่ายโอนสิทธิการใช้ที่ดินและอาคาร เนื่องจากมูลค่าของที่ดินในย่านเก่าที่พุ่งสูงจากกลไกการพัฒนาทางตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยระบบธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจการท่องเที่ยว

  • การลดลงของบทบาทของพื้นที่การค้าปลีกทั้งในระดับชุมชนและระดับเมือง ด้วยพฤติกรรมการบริโภคสินค้าผ่านการซื้อขายออนไลน์ และใช้บริการจัดส่งสินค้าถึงบ้านเป็นบรรทัดฐานของชีวิตประจาวัน
  • การเกิดพื้นที่ Multi-CBD ตามการรวมกลุ่มของธุรกิจ (Business Cluster) ที่มีความชัดเจนยิ่งขึ้นในเขตเมืองชั้นในกรุงเทพมหานคร โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนสาคัญคือการเปิดเสรีการค้าอาเซียนที่จะทาให้การเกิดลงทุนของกลุ่มธุรกิจข้ามชาติประเภทการวิจัยและพัฒนา (R&D) และเทคโนโลยีระดับสูงในพื้นที่เมืองกรุงเทพมหานครชั้นใน โดยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและการแพทย์
  • รูปแบบและวิธีการทางานที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นการทางานแบบโครงข่ายของผู้ประกอบอาชีพอิสระ (Network of freelancers) ส่งผลทาให้เกิดความต้องพื้นที่เพื่อการทางานแบบใหม่ (Sharing office) ที่มีขนาดเล็กลง มีความยืดหยุ่นสูง และมีเทคโนโลยีทาง ICT ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงอาจผนวกอยู่ในพื้นที่พักอาศัย (SOHO)) เป็นสาเหตุทาให้ปริมาณความต้องการและรูปแบบของพื้นที่สานักงานในเขตเมืองชั้นในกรุงเทพมหานครในอนาคตเปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบัน
  • การเจริญเติบโตของธุรกิจการท่องเที่ยวและการบริการรูปแบบใหม่ ที่เน้นตลาดกลุ่มทางเลือกขนาดเล็ก โดยมีจุดขายคือการมีประสบการณ์ร่วมกับพื้นที่และชุมชน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทาให้เกิดการฟื้นฟูระบบกายภาพภายในย่านเมืองเก่าหลายแห่งในย่านเมืองเก่า โดยเฉพาะย่านที่อยู่อาศัยในพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เพื่อรองรับกิจกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ
  • การพัฒนาระบบอุตสาหกรรมใหม่กลางเมือง ทั้งอุตสาหกรรมการเกษตรทางเลือกที่เกิดขึ้นจากการให้ความสำคัญต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรเมือง ส่งผลทาให้เกิดความต้องการสินค้าด้านอาหารที่เน้นความสะอาด และปลอดภัยจากสารพิษ พัฒนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ทางกายภาพของเมืองเพื่อเป็นพื้นที่เกษตรกรรมระดับครัวเรือน/ชุมชน และการเกิดอุตสาหกรรมการเกษตรปลอดสารพิษใจกลางเมือง ตลอดจนอุตสาหกรรมการผลิตรูปแบบใหม่ ที่มีระบบการผลิตขนาดเล็ก และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

  • การเปลี่ยนแปลงบทบาทและที่ตั้งของสถานที่ราชการในอนาคต จากการใช้พื้นที่สานักงานขนาดใหญ่แบบรวมศูนย์บนที่ดินของรัฐไปสู่การกระจายตัวใช้พื้นที่ขนาดเล็กบนอาคารสานักงานของภาคเอกชน ส่งผลทาให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของย่านศูนย์ราชการเดิมในเขตเมืองชั้นในสู่รูปแบบใหม่ตามแต่บริบทการพัฒนา ส่วนพื้นที่ศูนย์ราชการขนาดใหญ่ที่ยังคงหลงเหลืออยู่จะเปลี่ยนแปลงบทบาทเป็น Back office ที่ทาหน้าที่เป็นคลังข้อมูลขนาดใหญ่ในอนาคต

  • การเกิดพื้นที่ย่านใหม่ตามกลุ่มประเภทของประชากร ซ้อนทับไปบนพื้นที่ย่านดั้งเดิม โดยเฉพาะย่านที่เกิดขึ้นตามกลุ่มประชากรแรงงานต่างชาติ และกลุ่มคนที่ทางานด้านศิลปะและการสร้างสรรค์ เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบอาคารและพื้นที่สาธารณะให้เหมาะสมกับระบบกิจกรรมของกลุ่มคนในพื้นที่
  • การพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคนในสังคม เพื่อผสานความแตกต่าง การกีดดัน และลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มวัย เชื้อชาติ และวัฒนธรรมจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากร

  • การพัฒนาระบบขนส่งปลายทางที่มีประสิทธิภาพและหลากหลาย เพื่อรองรับการใช้ระบบการขนส่งทางรางที่เป็นรูปแบบการเดินหลักในชีวิตประจาวัน โดยมีทางเลือกสำคัญคือการพัฒนาคุณภาพของระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่เป็นทางการ (Informal / Para-transportation) ให้มีมาตรฐาน และนาเทคโนโลยี ICT มาเป็นเครื่องมือพัฒนาประสิทธิภาพของการบริการ
  • การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทางในระดับละแวกบ้าน เป็นการเดินเท้าและใช้จักรยานที่เพิ่มสูงขึ้น
  • การเดินทางอย่างมีประสิทธิภาพและไร้รอยต่อ พฤติกรรมการเดินทางที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นปริมาณการเดินทางเพื่อการทางานและการจับจ่ายใช้สอยที่ลดน้อยลง แต่เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวและนันทนาการที่เพิ่มสูงขึ้น และมีความคาดหวังต่อประสิทธิภาพของการเดินทางสู่พื้นที่ศูนย์กลางกิจกรรมอย่างไร้รอยต่อได้ตลอดทั้ง 24 ชั่วโมง
  • การพัฒนาระบบขนส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับระบบเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ที่เน้นรูปแบบการซื้อขายผ่านตลาดออนไลน์ (E-commerce) และพึ่งพาธุรกิจการจัดส่งสินค้า

  • การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารและสนเทศ (ICT) อาทิ การเข้าถึงระบบข้อมูลและข่าวสาร การจัดการอภิมหาฐานข้อมูล การป้องกันภัยของระบบข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น
  • การแสวงหาพลังงานทางเลือกและทิศทางการพัฒนาเมืองที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม จากการตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนพลังงานเพื่อรองรับระบบกิจกรรมบนพื้นที่เมือง และปัญหาภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ นาไปสู่แนวคิดการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานรูปแบบใหม่ อาทิ สถานีพลังงานทางเลือกระดับชุมชน และการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Economic) ตลอดจนให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเมืองที่ตอบรับกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมเมือง
  • การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ภายใต้ระบบโครงสร้างทางประชากรที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นสังคมผู้สูงอายุ สังคมพหุวัฒนธรรม และสังคมที่ยังคงมีระดับของความเหลื่อมล้าสูงเพื่อการดารงชีวิตอย่างมีคุณภาพและมีสุขภาวะ อาทิ สวนสาธารณะ ศูนย์สุขภาพ สถานที่ออกกาลังกาย

ข่าวออกสื่อ
4 Jul 2016
คลอดโปรเจกต์ ‘สะพานเดินข้ามเจ้าพระยา’ แห่งแรกของไทย

ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง บอกว่า ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในรูปแบบพหุภาคี เป็นส่วนสำคัญในโครงการฟื้นฟูเมืองครั้งใหญ่ของกรุงเทพมหานคร เช่น การปรับปรุงสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นสวนลอยฟ้าแห่งแรกของไทย หุ่นจำลองโครงการทางเท้าสัญจรข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณช่องกลางสะพานพระปกเกล้าฯ หรือสะพานด้วน สำหรับเดินข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการฟื้นฟูย่านกะดีจีน-คลองสาน โดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ ยูดีดีซี เพื่อสร้างทางเลือกในการสัญจรด้วยการเดินเท้าและปั่นจักรยาน  ตลอดจนเพิ่มพื้นที่สีเขียวของเมือง ในรูปแบบของสวนลอยฟ้าแห่งแรกของประเทศไทย ผู้อำนวยการ

อ่านต่อ
4 Jul 2016
สผม.จับมือศูนย์ออกแบบจุฬาฯจัด’กรุงเทพฯ250’เสนอแผนพัฒนา3ย่านหลังฟังความเห็นคนกรุง

นายวันชัย ถนอมศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง (สผม.) กล่าวว่า สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร ร่วมกับศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงาน “กรุงเทพฯ 250” ในวันที่ 23 มิถุนายน 2559 เวลา 13.00-16.30 น. ที่โรงละครสยามพิฆเนศ

อ่านต่อ
4 Jul 2016
HBDBKK: CAPITAL MAKEOVER PLANNED FOR 250TH

BANGKOK — Imagine riverside areas friendly to pedestrians and cyclists, or sidewalks wide enough to actually walk on in some

อ่านต่อ
4 Jul 2016
กทม.จัดแผนฟื้นฟู 3 ย่านเก่าศก.กรุง ผุดท่าเรือเชื่อมขนส่ง

กทม.จัดแผนฟื้นฟู 3 ย่านเก่าศก.กรุง ผุดท่าเรือเชื่อมขนส่ง กทม. – เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. ที่สยามภาวลัย รอยัล แกรนด์เธียเตอร์ สยามพารากอน ชั้น 6 นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานเปิดงานนำเสนอสาธารณะ

อ่านต่อ
4 Jul 2016
ฟิ้นฟูเมือง เพื่ออนาคต ความหลากหลายและโอกาส..งานนำเสนอสาธารณะกรุงเทพฯ250

      บรรยากาศ นิทรรศการ ด้านหน้า ก่อนเข้าฟังงานนำเสนอสาธารณะ คุณจุมพล  สำเภาพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานในพิธี กล่าวเปิดโครงการ ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ หัวหน้าโครงการกรุงเทพ250 2 และคณะทำงาน นำเสนอผลการศึกษา ดร.พรสรร วิเชียรประดิษฐ์ –

อ่านต่อ
4 Jul 2016
เผยผลสำรวจ 3 ย่านดังกรุงเทพ-ลุยปรับพื้นที่เน้นคุ้มค่า-เข้าถึงได้ทุกคน

สำนักผังเมือง-ศูนย์ออกแบบพัฒนาเมือง-คนเมืองหลายพื้นที่ ร่วมนำเสนอแผนพัฒนา‘กรุงเทพฯ 250 ²’ ฟื้นฟูย่านเมืองเก่า 3 ย่าน รอบเกาะรัตนโกสินทร์-โยธี ราชวิถี-ทองหล่อ เอกมัย เพื่อเป็นต้นแบบเมืองที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตของคนทุกคน 24 มิ.ย 2559 สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานครร่วมกับศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง หรือยูดีดีซี (UddC: Urban Design

อ่านต่อ
8 Feb 2016
ถกสร้าง Skywalk นำร่องฟื้นฟูย่านโยธี-ราชวิถี

การประชุมเชิงปฏิบัติการในโครงการ กรุงเทพฯ 250 เพื่อรับฟังความเห็นของภาคประชาสังคมที่อาศัยในย่านโยธี-ราชวิถี แนวคิดที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ คือ การสร้างสกายวอล์ก เพื่อเพิ่มศักยภาพในการสัญจรโดยรอบพื้นที่ ตัวแทนประชาชนในย่านโยธีและย่านราชวิถี  ร่วมแสดงความคิดเห็นกับแบบร่าง การปรับปรุงย่านโยธีและย่านราชวิถี ตามโครงการกรุงเทพฯ 250 ของศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือยูดีดีซี  ซึ่งขณะนี้เข้าสู่การดำเนินการในระยะที่ 2 ต่อเนื่องจากปี 2558

อ่านต่อ
4 Feb 2016
กทม. จับมือ UDDC แลกไอเดียฟื้นฟูทองหล่อ-เอกมัย

วันนี้ (4 กุมภาพันธ์ 2559) สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร (กทม.) ร่วมกับศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) เปิดกิจกรรมเวิร์คชอปให้องค์กรต่างๆ ผู้ที่อยู่อาศัย ทำงาน สถานที่กินดื่ม หรือสัญจรผ่านไปมาในย่านทองหล่อ-เอกมัย ร่วมแสดงความคิดเห็นสร้างแบบร่าง พื้นที่นำร่อง 4 แห่ง ได้แก่ พื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสทองหล่อ,

อ่านต่อ
14 Jan 2016
ลุยจัดฉลองกรุงเทพฯ250ปีระยะ2 พัฒนา-ฟื้นฟู”ท่าพระจันทร์”

กทม. – เมื่อวันที่ 13 ม.ค. ที่ราชนาวีสโมสร เขตพระนคร นายยุทธพันธ์ มีชัย ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำผังออกแบบชุมชนเมืองในการพัฒนาและปรับปรุงฟื้นฟูย่านท่าพระจันทร์-ปากคลองตลาด ครั้งที่ 3 ตามโครงการกรุงเทพฯ 250 ระยะที่ 2 โดยมีผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถานศึกษา

อ่านต่อ
ความคืบหน้าของโครงการ
แหล่งความรู้เกี่ยวกับกรุงเทพ
27 Jul 2015
กรุงเทพฯ 250 กับเทรนด์การใช้ชีวิตเมือง 10 : การพัฒนาอย่างทั่วถึง

เพราะพื้นที่เมืองอย่างเช่นกรุงเทพฯ คือแหล่งรวมของความหลากหลาย โดยเฉพาะผู้คนซึ่งมาจากหลายแหล่งที่มา หลากหลายระดับของรายได้ ซึ่งแต่ละกลุ่มย่อมมีรูปแบบของวิถีชีวิตในแบบเฉพาะตัว เมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ จึงควรมีการพัฒนาอย่างทั่วถึง (Inclusive development) เพื่อให้ผู้คนทุกกลุ่มในสังคม สามารถใช้ชีวิตในเมืองแห่งนี้ได้อย่างปกติสุข เมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ ควรดำเนินการพัฒนาบนพื้นฐานของการสร้างโอกาสให้กับคนทุกกลุ่มในสังคม เพื่อตอบรับความเท่าเทียมกันในสังคมในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งที่สะดวกและครบวงจร ที่ผู้คนทุกกลุ่มมีสิทธิ์เข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน การพัฒนาสิทธิการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ และความเท่าเทียมกันในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิตอล

อ่านต่อ
27 Jul 2015
กรุงเทพฯ 250 กับเทรนด์การใช้ชีวิตเมือง 9 : ความปกติใหม่ของชีวิตคนเมือง ‪Bangkok250‬‬

เพื่อให้โครงการกรุงเทพฯ 250 สามารถตอบสนองการใช้ชีวิตของคนเมืองในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่จะเป็น ความปกติใหม่ของชีวิตคนเมือง (Urbanite’s New Normal) ซึ่งหมายถึง สภาพการณ์ที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดในเมืองในอนาคตอันใกล้ และจะเป็นสภาพการณ์ที่อยู่กับเราไปอีกนาน จนกลายเป็นความเคยชิน และจะกลายเป็นความปกติของชีวิตในที่สุด ความปกติใหม่ของการใช้ชีวิตในเมืองกรุงเทพฯ ในอนาคตอันใกล้ เช่น การเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จะทำให้เกิดการหล่อหลอมรวมกันของวัฒนธรรมที่หลากหลาย นอกจากนี้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะเป็นปัจจัยสำคัญในการก่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในรูปแบบใหม่

อ่านต่อ
27 Jul 2015
กรุงเทพฯ 250 กับเทรนด์การใช้ชีวิตเมือง 8 : การใช้ประโยชน์ที่ดินและพื้นที่รองรับโครงสร้างประชากรกทม. ใหม่ ‪

สิ่งหนึ่งที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นกับเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯในอนาคตอันใกล้คือ โครงสร้างของประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป อันเนื่องมาจากความจำกัดในแง่ของขนาดพื้นที่ ทำให้การฟื้นฟูพื้นที่เก่าในเขตเมืองชั้นใน จำเป็นที่จะต้องมีการใช้ประโยชน์ที่ดินและพื้นที่เมืองเก่าเพื่อรองรับโครงสร้างประชากรกรุงเทพฯใหม่ (Land & Space for New Bangkokian) อย่างมีประสิทธิภาพ ในอนาคตนั้น มีแนวโน้มว่าปริมาณของประชากรผู้สูงอายุ และผู้มีรายได้น้อยในกรุงเทพฯ จะเพิ่มขึ้นในอนาคต จะผลักดันให้เกิดแนวโน้มการใช้ที่ดิน ในรูปแบบของที่อยู่อาศัยแนวตั้งมากขึ้น เพราะช่วยลดต้นทุน ทำให้ราคาต่อหน่วยลดลง

อ่านต่อ
27 Jul 2015
โครงการกรุงเทพฯ 250

เพื่อให้การฟื้นฟูเมืองกรุงเทพฯชั้นในสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง หรือ Urban Design and Development Center (UddC) จึงได้ริเริ่ม “โครงการกรุงเทพฯ 250” ขึ้น เพื่อให้เป็นต้นแบบสำหรับการฟื้นฟูพื้นที่ย่านชุมชนเก่าแก่บริเวณชั้นในกรุงเทพมหานคร โครงการกรุงเทพฯ 250 (สองร้อยห้าสิบ) เป็นโครงการจัดทำผังแม่บทฟื้นฟูย่านเมืองเก่า คลอบคลุมเขตพื้นที่การปกครองของกรุงเทพมหานครในบริเวณย่านเมืองเก่า 17

อ่านต่อ
27 Jul 2015
การฟื้นฟูเมือง : อนาคตของกรุงเทพฯ

เป็นที่ทราบกันดีว่า นอกจากกรุงเทพมหานครจะเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและยังเป็นศูนย์รวมของความสะดวกสบายต่างๆ แต่ในอีกมุมหนึ่ง เมืองหลวงแห่งนี้ก็เป็นศูนย์รวมของปัญหาต่างๆ มากมาย ทั้งมลภาวะเป็นพิษ การคมนาคม และความแออัด ทำให้ผู้คนจำนวนมากพากันหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญปัญหา ด้วยการออกไปอยู่ชานเมือง ทำให้ย่านเมืองเก่าชั้นในของกรุงเทพฯ ถูกทิ้งร้างให้เกิดความเสื่อมโทรม ด้วยเหตุนี้หลายภาคส่วนจึงมีแนวคิดที่จะฟื้นฟูพื้นที่เมืองชั้นในขึ้น โดยทั่วไปแล้ว การฟื้นฟูเมือง มักจะมุ่งเน้นที่การปรับปรุงพื้นที่เมืองชั้นในให้มีศักยภาพสูง เพื่อรองรับจำนวนประชากรที่จะเพิ่มขึ้น โดยสามารถเลือกใช้วิธีการฟื้นฟูเมืองได้หลายวิธี ได้แก่ 1)

อ่านต่อ
27 Jul 2015
พัฒนาการของชุมชนเมืองกรุงเทพฯ จากอดีตสู่ปัจจุบัน

ตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา พื้นที่กรุงเทพมหานครนั้นมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ด้วยการพัฒนาแบบรวมศูนย์ ทำให้กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ มีการขยายตัวขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นเมืองโตเดี่ยว และยังคงขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง รูปแบบการพัฒนาเมืองของกรุงเทพฯ ที่ผ่านมานั้น มุ่งเน้นไปที่ “การขยายเมืองแนวราบ” (Suburbanization) เป็นหลัก โดยเริ่มจากประมาณช่วงปี พ.ศ.2450 ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาเมือง การขยายตัวในช่วงนี้ยังมีไม่มากนัก โดยจะอยู่บริเวณเขตเมืองชั้นในของกรุงเทพฯ ต่อมาในช่วง พ.ศ.2500

อ่านต่อ
เอกสารของโครงการ
ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารต่าง ๆ ของโครงการได้ที่นี่

    ภาพรวมโครงการ

  • ภาพรวมโครงการ